บทที่ 3 การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

ความรู้เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์

     สินค้าต่างและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เลือกซื้อเลือกใช้ในชีวิตประจำวันนอกจากจะพิจารณาถึงประโยชน์ใช้สอย คุณภาพ และราคาแล้วบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มที่สวยงาม หรือแปลกใหม่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจเลือกซื้อและเลือกใช้ด้วยเช่นกัน

ความหมายของบรรจุภัณฑ์

   บรรจุภัณฑ์ หมายถึง วัตถุที่ใช้ห่อหุ้มสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อย่างปกปิดมิดชิดแลเป็นสิ่งที่จะไม่ทำให้สินค้าข้างในพังได้และจะต้องมีความปลอดภัยสะดวกต่อการขนส่ง

หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์

1. ปกป้องคุ้มครองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ 
2. อำนวยความสะดวกต่อการขนส่ง การเคลื่อนย้าย และการเก็บรักษา
3. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
4. ส่งเสริมการขายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
5. เพิ่มมูลค่าของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
6. รณรงค์ในเรื่องต่างๆ เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก

วัสดุที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

  1. วัสดุธรรมชาติประเภทเส้นใย เช่น กล้วย หวาย เตยปาหนัน กก กระจูดผักตบชวาเป็นต้น ซึ่งก่อนจะนำมาใช้ต้องผ่านการแปรสภาพด้วยการตากแห้ง ฟอกขาว อบกำมะถัน ฟั่นเกลียว
  2. วัสดุธรรมชาติที่แปรรูปเป็นแผ่น และรูปทรงต่างๆ เช่น กระดาษ
  3. วัสดุธรรมชาติประเภทไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะขาม ไม้ไผ่

การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

      โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์โดยทั่วไปจะมีการปกปิดตัวสินค้า 3 ชั้น
 1. บรรจุภัณฑ์ชั้นในซึ่งอยู่ติดกับตัวสินค้า
 2. บรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง ซึ่งจะห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ชั้นใน
 3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอก ซึ่งรวบรวมสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเพื่อการขนส่ง

การออกแบบกราฟิกของบรรจุภัณฑ์

 1. บรรจุภัณฑ์ควรมีเอกลักษณ์โดดเด่นสะดุดตาและสื่อความหมายได้
 2. บรรจุภัณฑ์ควรสะดวกต่อการใช้งานและแรงทนทาน
 3. บรรจุภัณฑ์ควรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ง่ายซึ่งแนวในการผลิตสิ่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมคือ 1.ใช้วัสดุธรรมชาติ 2.ลดส่วนประกอบที่ไม่สำคัญ
3.ลดความหนาความสูงของบรรจุภัณฑ์4.นำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้นำมาผลิต

ตัวอย่างการประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

v      บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้
  กล่องกระดาษแข็งพับได้ประดิษฐ์จากกระดาษแข็งหน้าเดียวที่มีช่องด้านบนเปิดให้เห็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ด้านในเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กับอาหาร เช่น ขนมเค้ก ขนมชั้น ขนมหม้อแกง และงานประดิษฐ์ที่มีน้ำหนักเบา เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ กระเป๋าผ้าใบเล็กๆ
  การประดิษฐ์กล่องกระดาษแข็งพับได้สามารถประยุกต์ใช้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทุกขนาดโดยก่อนประดิษฐ์ต้องวัดขนาดของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ก่อน จึงจะกำหนดขนาดของกล่องให้พอดีไม่คับแคบหรือมีพื้นที่มากเกินไป เพื่อไม่ให้ก่อความเสียหายให้แก่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์
การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษแข็งพับได้มีวัสดุอุปกรณ์และวิธีการทำ ดังนี้

วัสดุอุปกรณ์

1. กระดาษแข็งหน้าเดียว                         6. ดินสอ
2. ไม้บรรทัด                                            7. ยางลบ
3. กรรไกร                                                8. คัตเตอร์
4. วงเวียน                                                9. กาว
5. แผ่นพลาสติกใส                                   10. กระดาษ A4

ขั้นตอนการทำ

1. ออกแบบบรรจุภัณฑ์แบบกล่องพับได้โดยร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษA4
2. ร่างโครงภาพตามที่ออกแบบไว้ในกระดาษA4 ลงบนกระดาษแข็งหน้าเดียว
3. กำหนดขนาดของกล่อง กว้าง x ยาว x สูง ให้สามารถบรรจุสินค้านั้นๆได้และทำให้เป็นสัดส่วนจริง จากนั้นนำแบบที่ได้มาเขียนเป็นภาพแผ่นคลี่ กำหนดส่วนประกอบตัวกล่อง กำหนดจุดตัด จุดพับ
4. ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดกระดาษตามแบบที่ร่างไว้ และใช้คัตเตอร์กรีดตามรอยพับเบาๆ อย่าให้ขาด เพื่อให้ง่ายต่อการพับเป็นรูปทรง
5. พับกระดาษตามรอยกรีด จัดรูปทรงให้เป็นกล่องสวยงาม ไม่บิดเบี้ยว จากนั้นจึงทากาวที่รอยต่อให้สนิท หรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บประกอบกล่อง
6. วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่องบนฝากกล่อง แล้วตัดพลาสติกให้มีขนาดใหญ่กว่าเส้นรอบวงประมาณ 1 นิ้ว และทากาวบริเวณส่วนเกินเส้นรอบวง ติดด้านในที่ช่องบนฝากล่อง

ข้อเสนอแนะ

1. ฝากล่องสามารถปิดเปิดได้พอดี มุมพับของผาอาจจะต้องตัดออกถ้ากระดาษหนาเกินไปเพื่อป้องกันการเบียดเสียดจนกระดาษฉีกขาดเมื่อประกอบ
2. ช่องบนฝากล่อง ควรตัดให้ได้ขนาดพอเหมาะกับบรรจุภัณฑ์และสามารถมองเห็นสินค้าได้ที่อยู่ภายในได้ชัดเจน

v     ชะลอมประยุกต์

งานจักสานเป็นหัตกรรมที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่รู้จักนำวัสดุธรรมชาติ เช่น หวาย ไม้ไผ่ ใบลาน ฟาง ฯลฯ มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้สอยในการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องจักสานทำด้วยมือ ซึ่งต่างจากผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรม จึงมีคุณค่าเฉพาะตัว ลวดลายจากสาน ถัก ทอ และ รูปแบบเครื่องจักสานแต่ละชิ้นจะแสดงถึงลักษณะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน
การสานชะลอมเป็นการนำตอกไม้ไผ่มาสานขัดกันแบบโปร่งๆ เป็นลายเฉลว ค่อยๆ เพิ่มตอกเข้าไปทีละเส้นจะได้พื้นหรือส่วนก้นของชะลอมเป็นรูป 6 เหลี่ยม สานต่อจนได้ความสูงตามต้องการที่ปากชะลอมจะเหลือตอกไว้ สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายใน และใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย ในอดีตชะลอมใช้ใส่ของแห้งต่างๆ ในการเดินทาง ในปัจจุบันมีการสานชะลอมแบบประยุกต์ โดยสานเป็นใบเล็กๆ สำหรับใส่ของชำร่วย ใส่ขนม หรือสานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เน้นเอกลักษณ์ไทย
การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์ชะลอมแบบประยุกต์มีวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำ ดังนี้

    วัสดุ อุปกรณ์

1. ตอกที่จักสำเร็จขนาดกว้าง 1 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร จำนวน 12 เส้น
2. กรรไกร
3. ดินสอ กระดาษถ่ายเอกสารA4
4. ตัวหนีบผ้าหรือที่หนีบกระดาษ 6 ตัว
5. สิ่งของตกแต่ง เช่น ดอกไม้แห้ง ดอกไม้ประดิษฐ์
6. กาวซิลิโคนแท่ง หรือ ปืนยิงกาว
7. แม่พิมพ์ที่ทำจากดินเหนียวไม้ หรือ แกนเทปกาว

ขั้นตอนการทำ

1ออกแบบชะลอมแบบยุกต์โดยการร่างภาพ 3 มิติ ลงบนกระดาษถ่ายเอกสาร A4
2. ลงมือสานชะลอมตามที่ออกแบบไว้โดยเริ่มจากการสานก้นชะลอม นำตอกมาเขว่กันเป็นรูปกากบาท
3. สานขัดต่อกันทั้งด้านบนและด้านล่าง เพิ่มตอกทีละเส้น โดยต้องหมุนสลับข้างกันไปเรื่อยๆ จนได้ความกว้างของก้นชะลอมตามที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นได้ว่าตอกทุกเส้นจะขัดกันธรรมดา แบบยก 1 ข้าม 1 จนได้รูปหกเหลี่ยมเป็นจุดศูนย์กลาง 1 รูป และมีรูป 6 เหลียมล้อมรอบ
4. สานลายขัดเวียนก้นชะลอมเพื่อขึ้นเป็นตัวชะลอม โดยเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่งโน้มปลายตอกยืนให้ตั้งฉากกับก้นชะลอมทั้ง 6 ด้าน เพื่อขึ้นรูปชะลอม โดยนำเส้นตอกสานมาสานลายขัดตามแนวนอนทีละเส้นสานวนรอบเป็นวงกลม วงจนหมดความยาวของตอก ปลายตอกที่เหลือให้สานต่อกับจุดเริ่มต้นซึ่งขั้นตอนนี้ให้ใช้ตัวหนีบผ้า หรือ ตัว หนีบกระดาษช่วย จะทำให้สานได้สะดวกขึ้น
5. วางแม่พิมพ์ตรงบริเวณก้นชะลอม จากนั้นนำตอกมาสานลักษณะเดียวกันอีก แถวละ 2 เส้นโดยรอบ เว้นระยะห่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร สานต่อไปให้ขึ้นรูปทรงจะได้ชะลอมขนาดย่อแล้วจึงนำแม่พิมพ์ออก
6. เมื่อสานได้ความสูงตามต้องการ ถ้าเหลือไว้จะใช้สำหรับมัดปิดของที่อยู่ภายในและใช้เป็นที่หิ้วไปด้วย แต่ถ้าจะทำเป็นตะกร้าที่มีฝาปิด ให้ตัดปลายตอกออกให้เรียบร้อย
7. เมื่อตัดตอกแล้ว นำตอกเส้นเล็ก มาสานขัดรอบปากชะลอมกันหลุด โดยค่อยๆพับเส้นยืนทีละเส้นให้แนบไปกับตัวชะลอม ดึงให้แน่น ขัดซ้อนเงื่อนเส้นตอกเส้นยืนให้เรียบร้อย
8. การสานฝาชะลอมประยุกต์ ทำเช่นเดียวกับตัวชะลอม แต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
9. ตกแต่งให้สวยงามด้วยการนำดอกไม้แห้งหรือดอกไม้ประดิษฐ์มาติดบนฝาชะลอมประยุกต์แล้วตรวจดูความเรียบร้อยในขั้นตอนสุดท้าย

ข้อเสนอแนะ

1. ให้นำตอกไปชุบน้ำก่อนสานจะทำให้ตอกนิ่ม อ่อนตัว สานได้ง่ายขึ้น และตอกไม่หักขณะที่สาน
2. สามารถนำตอกไปย้อมให้เป็นสีต่างๆตามที่ต้องการ
3. ถ้าสานชะลอมใบใหญ่ให้นำไม้มาสานขัดก้นชะลอม เพื่อให้รับน้ำหนักของผลิตภัณฑ์ที่จะใส่ไปในชะลอม

v     ถุงผ้าแบบหูรูด

วัสดุ อุปกรณ์

-ผ้าตามต้องการ เช่น ผ้าด้ายดิบ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าไหมแก้ว ผ้าโปร่ง
-เข็ม ด้าย กรรไกร    -เชือก   -เตารีด   -ดินสอหรือชอล์กเขียนผ้า
-ไม้บรรทัด   -วัสดุที่ใช้ในการตกแต่ง

ขั้นตอนการทำ

1. ตัดผ้าให้ป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (อาจกำหนดความกว้าง ความยาวเอง)
2. พบทบชายผ้าด้านกว้างเข้าหากัน ใช้ดินสอวัดระยะจากก้นถุงขึ้นมาประมาณ 20-25 เซนติเมตร ใช้ชอล์กเขียนผ้าทำเครื่องหมายไว้ โดยเว้นระยะด้านบนปากถุงไว้ จากนั้นวัดระยะห่างจากของผ้าซ้ายและขวาเข้ามาข้างละ 1-2 เซนติเมตร แล้วใช้ชอล์กเขียนผ้าขีดเส้นเป็นแนวเย็บบางๆ
3. เนาผ้าตามรอยที่ขีดไว้ แล้วเย็บแบบด้นถอยหลัง หรือเย็บด้วยจักรเย็บผ้าตามรอยที่เนาไว้ทั้งสองข้าง
4. ใช้กรรไกรตัดขอบผ้าออกให้เรียบร้อย
5. เนาและเย็บตะเข็บบริเวณรอยผ่าของปากถุงทั้ง 2 ด้าน
6. พับทบผ้าบริเวณปากถุงลงมาเพื่อเย็บประมาณ 7-10 เซนติเมตร แล้วเนาผ้าตามระยะที่พับลงมา
7. กะระยะสำหรับเย็บเพื่อใช้สอดเส้นเชือก โดยแนวเย็บแรกห่างขึ้นมาจากผ้าเล็กน้อยและแนวเย็บที่สองต้องเว้นระยะให้พอที่จะสอดเส้นเชือกเข้าไปได้ ซึ่งห่างจากแนวเย็บแรกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
8. พลิกกลับเอาผ้าด้านในออกมา แล้วใช้เตารีด รีดถุงผ้าให้เรียบร้อย
9. สอดเส้นเชือกสำหรับรูดปากถุง โดยกะระยะเส้นเชือกที่ต้องการใช้ แล้วตัด 2 เส้น กะระยะพอรอบปากถุง จากนั้นสอดเชือกเข้าไปในช่อง 2 เส้นคู่ ผูกชายเส้นเชือกไว้คนละด้านกัน จะได้ถุงที่มีหูรูดตามต้องการ
10ตกแต่งด้านหน้าของถุงผ้าให้สวยงามด้ายการเพนต์ลวดลาย หรือปักด้วยไหมปัก จากนั้นนำไปซักรีดให้เรียบร้อย ก่อนนำไปใช้บรรจุสิ่งของ

ข้อเสนอแนะ

ถ้าใช้ผ้าไหมแก้วตัดเย็บเป็นถุงผ้าแบบหูรูด แล้วตกแต่งด้วยริบบิ้นผ้า โบหรือผ้าลูกไม้ มักนิยมใช้ห่อหุ้มของชำร่วยในงานแต่งงาน หรืองานศพ

เนื้อหาในบทที่ 3 เรื่อง การประดิษฐ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

เนื้อหานี้จัดทำโดย....
เด็กชายชนสิษฎ์ คาริยะวะศัม เลขที่ 18
เด็กชายภาคิน เสนะวัต เลขที่ 20
เด็กชายรวิภาส เพ็งรักษ์ เลขที่ 22
เด็กชายชัยวิชญ์  สารติ เลขที่ 24
เด็กชายบดินทร์  หยู่เมี่ยง เลขที่ 25

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น